วันนี้
.....ข อ ง ข วั ญ ข อ ง แ ม่ คื อ รั ก แ ท้ ข อง ลู ก .....พ ร ะ อ ง ค์ แ ร ก ผู้ แ ส น ดี ใ ห้ ชี วิ ต ...ค รู ค น แ ร ก ผู้ ป ร ะ สิ ท ธิ์ ก า ร ศึ ก ษ า ...ห ม อ ค น แ ร ก ผู้ ถื อ ช้ อ น ค อ ย ป้ อ น ย า...ร ว ม คุ ณ ค่ า นี้ ไ ด้ แ ก่ .... แ ม่ เ ร า เ อ ง ....

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

แนวข้อสอบกฎหมายรัฐธรรมนูญ ชุด ๑

1.  ตามรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของบุคคลใดบ้าง
ก. ตนเอง  ภริยา  บุตร  และบุตรบุญธรรม         
ข. ตนเอง  คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ค. ตนเอง  ภริยา  แลกะบุตรทุกคน                     
ง. ตนเอง  คู่สมรส  และบุตรบุญธรรม
2.     การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จะต้องยื่นต่อ
        ก. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
        ข. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
        ค. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
        ง. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
3.  ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับคณะกรรมการ  ป.ป.ช.
ก. ประกอบด้วยประธานคนหนึ่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่น  อีก  10  คน
ข. พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของสภาผู้แทนราษฎร
ค. มีวาระการดำรงตำแหน่ง 9  ปี  และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
ง. คณะรัฐมนตรีเป็นผู้สรรหาและคัดเลือก
4.  กรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีวาระการดำรงตำแหน่งเท่าใด
 ก.  6 ปี  วาระเดียว
 ข.  7  ปี  วาระเดียว
 ค.  9 ปี  วาระเดียว
 ง.  10  ปี ไม่จำกัดวาระ
5. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีผลบังคับใช้ตั้งแต่
 ก.   1  สิงหาคม  2550
 ข.   17 สิงหาคม  2550
 ค.   24 สิงหาคม  2550
 ง.   25 สิงหาคม  2500
6. ในการเสนอขอแก้ไขในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ใครเป็นผู้มีสิทธิขอเสนอ
 ก. พรรคการเมือง
 ข. นายกรัฐมนตรี
 ค. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า  30,000 คน
 ง. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า  1  ใน  5 ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่
7. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช   2550 ได้รับความเห็นชอบจาก
 ก. คณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ( คมช. )
 ข. สภาร่างรัฐธรรมนูญ
 ค. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
 ง. การลงประชามติของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
8. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่เท่าใด
 ก. ฉบับที่ 16
 ข. ฉบับที่ 17
 ค. ฉบับที่ 18
 ง. ฉบับที่ 19
9. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีกี่หมวด กี่มาตรา
 ก. 14   หมวด   303  มาตรา
 ข.  14   หมวด   309   มาตรา
 ค. 15   หมวด   303  มาตรา
 ง.  15   หมวด   309   มาตรา
10. มาตรา 1   ของรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เกี่ยวกับ เรื่องใด
 ก. ประมุขของรัฐ
 ข. ความเป็นรัฐเดี่ยวของราชอาณาจักรไทย
 ค. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความคุ้มครอง
 ง. สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
11. รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีคณะองคมนตรีได้ไม่เกินกี่คน
 ก.  17  คน
 ข.  18  คน
 ค.  19  คน
 ง.  20  คน
12. ใครมีอำนาจลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ก. ประธานองคมนตรี             
ข. ประธานรัฐสภา                   
ค. ประธานวุฒิสมาชิก             
ง. นายกรัฐมนตรี
13. บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่แสดงเจตนารมณ์ให้ประเทศไทยเป็นรัฐสวัสดิการนั้น    มีอยู่หลายประการด้วยกัน ยกเว้น ข้อใด  
ก. ผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ข. บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บ  ค่าใช้จ่าย
ค. บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ย่อมมีสิทธิได้รับการจัดสรรที่อยู่อาศัยจากรัฐ
ง. บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปี บริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการสิงอำนวยความสะดวกอัน เป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
14. การกระทำข้อใด ไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ว่า  บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
ก. พนักงานสอบสวนใช้ไฟส่องหน้าและใช้เวลาสอบสวนผู้ต้องหาติเดต่อกันถึง 8 ชั่วโมง
ข. ประหารชีวิตนักโทษตามกฎหมาย
ค. ตำรวจซ้อมผู้ร้ายปากแข็งเพื่อให้รับสารภาพ  
ง. ผิดทุกข้อ
15. เราสามารถปฏิเสธการตรวจค้นบ้านจากตำรวจได้ หากเขาไม่มีหมายค้นแสดงต่อเราก่อน ถือว่าเรามีเสรีภาพในข้อใด
ก. เสรีภาพในชีวิตร่างกาย                                      
ข. เสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่
ค. เสรีภาพในเคหสถาน                                          
ง. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
16. บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปี
ก.  6  ปี                                       
ข.  10  ปี                                     
ค.  12  ปี                                     
ง.  16  ปี
17. ข้อใดไม่ใช่แนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ
ก. แนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ               
ข. แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
ค. แนวนโยบายด้านพลังงาน                                 
ง. แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
18. ประธานรัฐสภามาจากข้อใด
ก. ประธานองคมนตรี                                             
ข. ประธานวุฒิสภา
ค. ประธานสภาผู้แทนราษฎร                
ง. ถูกทุกข้อ
19. รัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2554กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนกี่คน
ก.  400  คน               
ข.  450  คน               
ค.  480  คน               
ง.  500  คน
20. รัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2554กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตจำนวนกี่คน
ก.  125  คน               
ข.  175  คน               
ค.  275  คน               
ง.  375  คน
21. รัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2554กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อจำนวนกี่คน
ก.  75  คน  
ข.  100  คน               
ค.  125  คน               
ง.  150  คน
22. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีอายุ 18 ปี บริบูรณ์ใน ....
ก. วันประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ข. วันเลือกตั้ง                            
ค. วันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง            
ง.   วันประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง
23. เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง จะต้องมีการเลือกตั้งทั่วไปภายในกำหนดเท่าใด
ก.  45  วัน  
ข.  60  วัน  
ค.  90  วัน  
ง.  120  วัน
24. วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปต้องตราเป็น ……
ก. พระราชกำหนด                                   
ข. พระราชบัญญัติ                    
ค. พระราชกฤษฎีกา 
ง. ประกาศพระบรมราชโองการ           
25. ผู้ใดจะลงสมัครรับเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติดังนี้ ยกเว้นข้อใด
ก. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด                  
ข. มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
ค. มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า          
ง. เป็นสมาชิกพรรคการเมืองเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 30 วัน
26. ตามรัฐธรรมนูญปัจจุบันสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละกี่ปี
ก.  3  ปี                                       
ข.  4  ปี                       
ค.  5  ปี                       
ง.  6  ปี
27. สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเริมตั้งแต่เมื่อใด
ก.วันเลือกตั้ง                                                              
ข. วันประกาศผลการเลือกตั้ง
ค. วันรายงานตัวต่อตัวสภาผู้แทนราษฎร             
ง. วันแรกที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร
28. การประชุมครั้งแรกนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องจัดให้มีการประชุมภายในกี่วัน
ก. 7  วัน                                      
ข.  15  วัน                  
ค.  30  วัน                  
ง.  45  วัน
29. สมาชิกวุฒิสภามีจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด
ก.  150   คน                               
ข.  200  คน                 
ค.  250  คน                 
ง.  300  คน
30. สมาชิกวุฒิสภามีที่มาจาก
ก.  การแต่งตั้ง                             
ข. การเลือกตั้ง                            
ค. การเลือกตั้งและสรรหา       
ง. ถูกทุกข้อ
31. อายุของวุฒิสมาชิกมีกำหนดคราวละกี่ปี
ก.  2  ปี                                        
ข.  4  ปี                                        
ค.  6  ปี                                        
ง.  8  ปี
32. สมัยประชุมสามัญ ของรัฐสภาสมัยหนึ่งๆ มีกำหนดกี่วัน
ก.  60  วัน                  
ข.  90  วัน                  
ค.  120  วัน                
ง.  150  วัน
33. การเลือกตั้ง การเปิดสมัยประชุมสภา และ การยุบสภา  ต้องตราเป็น
ก. พระราชบัญญัติ                     
ข. พระราชกำหนด                    
ค. พระราชกฤษฎีกา  
ง. พระบรมราชโองการ
34. คณะกรรมการเลือกตั้งมีกี่คน
ก.  4  คน                                     
ข.  5  คน                                     
ค.  7  คน                                     
ง.  10  คน
35. กรรมการการเลือกตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
ก.  4  ปี                                        
ข.  5  ปี                                        
ค.  6  ปี                                        
ง.  7  ปี
36. ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นั้น กำหนดให้องค์การอัยการมีฐานะเป็นอย่างไร
ก. ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี    
ข. ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ค. หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการตุลาการ        
ง. องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
37. ร่างพระราชบัญญัติจะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้
ก. โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร         
ข. โดยการลงพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
ค. โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา            
ง. โดยคำแนะนำและยินยอมของวุฒิสภา
38. พระราชบัญญัติจะมีผลบังคับเป็นกฎหมายได้เมื่อ
ก. พระมากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
ข. ได้ประกาศโดยเปิดเผยทางสื่อมวลชนแล้ว
ค. รัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบแล้ว                       
ง. ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
39. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินได้ต่อเมื่อ
ก. หัวหน้าพรรคการเมืองของตนมีคำรับรอง     
ข. มีคำรับรองของประธานสภาผู้แทนราษฎร
ค. มีคำรับรองของประธานวุฒิสภา                      
ง. มีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี
40. การขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อเสนอญัตติไม่น้อยกว่า เท่าใดของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
ก.   1  ใน  3                              
ข.  2  ใน  3                
ค.  1  ใน  5                
ง.  2  ใน  5
41. การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลต้องมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าเท่าใดของ สมาชิกทั้งหมดเข้าชื่อกัน
ก.  1  ใน  3                
ข.  1  ใน  4                
ค.  1  ใน  5                
ง.  1  ใน  6
42. ผู้ตรวจการแผ่นดินมีได้ไม่เกินกี่คน และอยู่ในวาระคราวละกี่ปี
ก. ไม่เกิน 2 คน วาระละ 2 ปี                             
ข. ไม่เกิน 3 คน วาระละ 6 ปี
ค. ไม่เกิน 4 คน วาระละ 4 ปี                             
ง. ไม่เกิน 5 คน วาระละ 5 ปี
43. รัฐธรรมนูญปัจจุบันกำหนดให้มีรัฐมนตรี ไม่เกินกี่คน
ก.  30  คน                  
ข.  35  คน                  
ค.  40  คน                  
ง.  45  คน
44. นับแต่วันเข้ารับหน้าที่คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาภายในกี่วัน
ก.  7  วัน                                    
ข.  15  วัน                  
ค.  18  วัน                  
ง.  21  วัน
45. ประชากรผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ ต้องมีคุณสมบัติแอย่างไร
ก. เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ข. ต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
ค. ต้องไม่เคยต้องโทษในคดีอาญา                        
ง. ถูกทุกข้อ
46. ผู้มีอำนาจในการประกาศใช้และยกเลิกกฎอัยการศึกตามกฎหมายคือใคร
ก. พระมหากษัตริย์                   
ข. ประธานรัฐสภา                   
ค. ประธานวุฒิสภา                  
ง. นายกรัฐมนตรี
47. ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตั้งรัฐมนตรี คือ
ก. ประธานสภาผู้แทนราษฎร                                
ข. ประธานรัฐสภา
ค. ประธานองคมนตรี                                             
ง. นายกรัฐมนตรี
48. ตามรัฐธรรมนูญไทยปัจจุบัน กฎหมายใดคือกฎหมายที่รัฐบาลสามารถประกาศใช้บังคับได้เองในทันทีแต่ต้องมาขอความเห็นชอบจากรัฐสภาในภายหลัง
ก. พระราชกฤษฎีกา 
ข. พระบรมราชโองการ          
ค. พระราชกำหนด                   
ง. พระราชบัญญัติในภาวะฉุกเฉิน
49. การเสนอกฎมายโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า
ก. 10,000  คน                           
ข. 20,000  คน                           
ค. 40,000  คน                           
ง. 50,000  คน
50. พนักงานไฟฟ้าปักเสาไฟฟ้าทำให้บ้านยายสาย ได้รับความเสียหาย ยายสายควรไปขอความเป็นธรรมจากศาลใด
ก. ศาลยุติธรรม                          
ข. ศาลปกครอง                         
ค.ศาลรัฐธรรมนูญ                    
ง. ศาลทหาร
51. คำสั่งยุบพรรคการเมืองกระทำโดย
ก. คณะกรรมการการเลือกตั้ง                                 
ข. ศาลยุติธรรม
ค. ศาลปกครอง                                         
ง. ศาลรัฐธรรมนูญ
52.ในกรณีที่ไม่มีบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญบังคับแก่กรณีใด รัฐธรรมนูญฯ  พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้ใช้วิธีการใดในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ก. ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ข. เป็นหน้าที่ของรัฐบาลหรือรัฐสภาที่จะดำเนินการพิจารณาสร้างบรรทัดฐานขึ้นใหม่
ค. ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ง. ให้กรณีดังกล่าวเป็นโมฆะ ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ต่อไปได้
53. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับการปกครอง ส่วนท้องถิ่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550
ก. สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี
ข. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
ค. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนเท่านั้น
ง. คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น จะเป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจของข้าราชการส่วนท้องถิ่นมิได้
54. หลักสำคัญของการจัดการปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ก. จะต้องมีสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารมาจากการเลือกตั้งตามกำหนดเวลา
ข. สมาชิกสภาและคณะผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งเป็นหลัก ถ้าจำเป็นต้องมีสมาชิกประเภทแต่งตั้ง จะต้อง มีจำนวนน้อยกว่าที่มาจารกการเลือกตั้ง
ค.ให้มีสมาชิกสภาท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง ผสมกับสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งเพื่อประสานประโยชน์ระหว่างราชการส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
ง. ให้จัดการกระจายอำนาจให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองมากที่สุดทั้งระดับ จังหวัด อำเภอ และตำบล
55. สมาชิกสภาท้องถิ่น มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
ก.  2  ปี
ข.  3  ปี       
ค.  4  ปี       
ง.  5  ปี
56. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช  2550  กำหนดให้องค์กรใดมีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง กรณีมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ หรือส่อไปในทางทุจริต
ก. รัฐสภา                   
ข. สภาผู้แทนราษฎร
ค. วุฒิสภา                  
ง. ศาลรัฐธรรมนูญ
57. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีจำนวนกี่คน
ก.  6  คน                                    
ข.  7  คน                                    
ค.  8  คน                                    
ง.  9  คน
58. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
ก.  4  ปี                                       
ข.  6  ปี                                       
ค.  9  ปี                                       
ง.  11  ปี
59. การถอดถอนข้าราชการการเมืองชั้นผู้ใหญ่ ออกจากตำแหน่งได้นั้นประชานก็มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาได้แต่ต้องรวมกันไม่น้อยกว่ากี่คน
ก.  20,000  คน                         
ข.  30,000  คน                         
ค.  40,000  คน                         
ง.  50,000  คน
60. การออกเสียงลงคะแนนในการพิจารณาแก้ไข ในรัฐธรรมนูญจะต้องได้คะแนนเสียง
ก. มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภา    
ข. มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภาเท่าที่มีอยู่
ค. สองในสามของจำนวนสมาชิกรัฐสภา           
ง. สองในสามของจำนวนสมาชิกรัฐสภาเท่าที่มีอยู่
Download คลิกที่นี่

ผลงานนักเรียน T.W. 6/3 ประเทศบรูไน

ผลงานนักเรียน T.W. 6/3 ประเทศเมียนมาร์